วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

แหล่งเรียนรู้ (จัก) แล้วจะรักมอญ...





สวัสดี...เดือนกุมภาพันธ์...เดือนแห่งความรัก



เป็นอย่างไรกันบ้างคะเพื่อนๆ เดือนนี้ทีไรเศร้าใจทุกที ฮ่าๆ ก็แหม เนอะ น้ำก็เป็นมนุษย์ที่มีหัวใจคนนึงก็อยากจะมีโมเมนต์ที่ได้รับดอกไม้จากชายหนุ่มกับเค้าบ้าง แต่ก็คงได้แต่คิดและฝันไป (ดราม่าอีกล้ะ5555) จริงๆแล้ววันวาเลนไทน์นี่ไม่จำเป็นต้องแสดงความรักกับคนรักที่เรียกว่า แฟน เสมอไปก็ได้นา เราอาจจะมอบความรักให้กับพ่อแม่ เพื่อน พี่ น้อง ก็ได้เนอะ  ฟี๊วว ว..เพ้อตลอด 

เอาล่ะๆมาเข้าเรื่องกันดีกว่าเนอะ หลังจากห่างหายไปประมาณสิบกว่าวัน วันนี้น้ำก็มีเรื่องราวดีดีมาฝากเพื่อนๆอีกเช่นเคยค่ะ วันนี้จะขอนำเสนอเรื่องราว เกี่ยวกับสถานที่แห่งหนึ่ง ซึ่งน้ำได้มีโอกาสไปมาเมื่อไม่นานมานี้เอง เป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่น้ำประทับใจมาก ยกให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่แสนจะประทับใจในอับดับต้นๆได้เลย เริ่มอยากรู้แล้วใช่ม๊า มันคือที่ไหนกันน๊าา ..แท่น แทน แท๊น..ที่ดังกล่าวนี้ก็คือ

                                     ''ศูนย์ศิลปะวัฒนธรรมมอญ''




สถานที่ตั้ง:  ตั้งอยู่เลขที่ 112 ข หมู่ 9 ซ.บางกระดี่ ถ.พระราม 2 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150 

   การเดินทาง:การไปยังชุมชนมอญบางกระดี่ หากขับรถมาทางถนนพระราม 2 มุ่งหน้าจังหวัดสมุทรสาคร หลังจากลงสะพานวงแหวนถนนพระราม 2 จะมีทางแยกเข้าถนนบางกระดี่ทางซ้ายมือ วิ่งไปตามถนนบางกระดี่จนเจอสะพานสูงข้ามคลองสนามชัย ลงสะพานไปจะเจอวัดบางกระดี่อยู่ทางขวามือ ส่วนชุมชนมอญบางกระดี่จะอยู่ริมคลองสนามชัยใกล้กับวัด

รถประจำทาง 68 105 รถปรับอากาศ: 68 76 105 140 141 529 จอดรถได้ที่บริเวณภายในวัด

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์หลัก:ศูนย์ศิลปะวัฒนธรรมมอญเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นแห่งแรกของชุมชนมอญบางกระดี่เป็นแหล่งความรู้ในเรื่องประเพณีและความเชื่อของมอญ เช่นประเพณีการเกิด ประเพณีการรำผี ประเพณีการตาย เป็นต้น รวมไปถึงข้าวของเครื่องใช้ เครื่องดนตรีเก่าแก่ของชาวมอญทั้งในประเทศไทยและพม่า จัดตั้งขึ้นเพื่อรื้อฟื้นประเพณีและวัฒนธรรมมอญอีกทั้งยังเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ด้านมอญศึกษา ไม่จำกัดการศึกษาเฉพาะแค่เรื่องราวของคนมอญในเมืองไทย หากรวมถึงมอญประเทศพม่าด้วย โดยเปิดบริการแก่นักเรียนนักศึกษา กลุ่มข้าราชการ หรือประชาชนทั่วไป โดยไม่ต้องเสียธรรมเนียมเข้าชม แต่จะรับเงินจากการบริจาคด้วยความศรัทธาซึ่งถือเป็นแหล่งรายได้ทางเดียวของศูนย์....

พร้อมที่จะไปสัมผัสวิถีชาวมอญกันรึยัง 

ถ้าพร้อมแล้วล่ะก็ Let'S Go !!!!


ก่อนจะเดินเข้าไปที่ศูนย์ดังกล่าว ขอแวะไหว้พระขอพร ณ วัดบางกระดี่ ก่อนนะคะ 


                               
วัดบางกระดี่เป็นวัดที่สร้างมาเมื่อประมาณ พ.ศ. 2420 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5


ไหว้พระเสร็จแล้วเดิน เดิน เดิน ไปยังเป้าหมายของเราก็คือ ศูนย์ศิลปะวัฒนธรรมมอญนั่นเอง ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากวัดมากนัก และในที่สุดเราก็มาถึง เย่เย่  
                 
     

พอไปถึงปุ๊บ น้ำและเพื่อนๆก็ได้เข้าไปทักทายและสอบถามข้อมูลจาก คุณป้าลำพู มอญดะ
(ผู้ให้ข้องมูลเกี่ยวกับชุมชนมอญบางกระดี่ วัฒนธรรม และศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมอญ)
  โดยคุณป้าลำพูได้เล่าถึงประวัติความเป็นมาของชุมชนมอญบางกระดี่ให้ฟัง และอธิบายถึงประเพณีวัฒนธรรมต่างๆของชาวมอญอย่างละเอียด


จากนั้นคุณป้าลำพูก็พาพวกเราเข้าไปยังศูนย์ศิลปะวัฒนธรรมมอญ โดยจะมีการนำเสนอผลงานในรูปพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นทั่วๆ ไป ซึ่งในส่วนนี้จะถูกจัดแสดงไว้ใต้ถุนบ้าน เกี่ยวกับรูปแบบวิถีชีวิต สิ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของชาวมอญ โดยจะมีคุณป้าลำพูบรรยายไปด้วยขณะพาเราเดินชม อาจจะแบ่งหมวดหมู่่ก็จำลองข้าวของที่ใช้ในวิถีชีวิตจริงๆ มาจัดแสดง เช่น ของที่ใช้ในพิธีกรรมไหว้ผี รำผี พิธีบวช พิธีการทำศพ พิธีการเกิด พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัฏจักรของชีวิตอย่างงานไหว้ผีบรรพบุรุษ  เป็นต้น


 น้ำได้เก็บภาพสิ่งของบางส่วนที่จัดแสดงในศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมอญ
มาฝากเพื่อนๆด้วย ไปชมกันเลยค่า













และนอกจากนี้น้ำและเพื่อนๆก็ได้มีโอกาสไปบ้านทะแยมอญ อ๊ะ งงใช่ม๊าา ว่ามันคืออะไร ??

บ้านทะแยมอญ (บ้านนายกัลยา ปุงบางกะดี่) ทะแยมอญเป็นวงดนตรีประเภทเครื่องสาย ที่มีนักร้องหญิงชายร้องโต้ตอบกัน บทร้องไม่หยาบคาย "ทะแยมอญ" เป็นคำที่คนไทยใช้เรียกการละเล่นหรือการแสดงของชาวมอญที่มีลักษณะเป็นเพลงปฏิพากย์คล้ายกับการเล่นเพลงพื้นเมืองของไทย เช่น เพลงลำตัด เพลงฉ่อย เพลงอีแซว และเพลงเรือ แต่ไม่มีการร้องหยาบคาย โดยจะมีนักร้องชาย-หญิง ร้องโต้ตอบกันเป็นคู่ ๆ พร้อมกับมีท่วงท่าลีลาร่ายรำประกอบ สำหรับคำร้องนั้นแต่เดิมเป็นภาษามอญล้วน ๆ แต่ปัจจุบันมีการประยุกต์คำร้องมีทั้งที่เป็นภาษามอญล้วน ๆ และภาษามอญปนไทยซึ่งมักใช้กับทำนองเพลงสมัยใหม่ เช่น เพลงลูกทุ่ง เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวชาดกและหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เครื่องดนตรีหลักที่ใช้บรรเลงทะแยมอญมีด้วยกัน 5 ชิ้นได้แก่ โกร (ซอมอญ) จยาม (จะเข้มอญ) อะโลด (ขลุ่ยมอญ) ปุงตัง(เปิงมาง) และ หะเดหรือคะเด (ฉิ่ง) บางกระดี่ก่อตั้งมาหลายชั่วอายุคน ปัจจุบันเป็นวงทะแยมอญวงเดียวของประเทศไทย ชื่อคณะ หงส์ฟ้ารามัญ

วงทะแยมอญ คณะหงส์ฟ้ารามัญ



น้ำได้มีโอกาสได้ร่วมเป่าขลุ่ยมอญเพลงลอยกระทงร่วมกับคุณลุงกัลยา ปุงบางกะดี่
 (ผู้ดูแลคณะหงส์ฟ้ารามัญ)โดยคุณลุงสีซอมอญด้วยน๊า 
ดีใจจังบรรเลงออกมาเป็นเพลงด้วย ณ ส่วนนี้น้ำประทับใจเป็นอย่างมาก(อยากโม้อ๊ะ ฮ่าๆ)>_<

เป็นอย่างไรกันบ้างคะเพื่อนๆ ถ้าเป็นไปได้น้ำอยากจะเชิญชวนให้เพื่อนๆลองไป  ณ ที่แห่งนี้ดูนะคะ ไปสัมผัสวีถีชีวิตความเป็นชาวมอญ ซึ่งน้ำรับรองได้เลยว่าถ้าเพื่อนๆ ได้ลองไป ก็จะรู้จักแล้วก็จะหลงรักวัฒนธรรมความเป็นมอญแบบไม่รู้ตัวเลยทีเดียว เสน่ห์ชาวมอญ เสนห์ที่ไม่ว่าใครจะต้องหลงรักอย่างแน่นอน ....

   จากการไปแหล่งเรียนรู้ ณ ศูนย์ศิลปะวัฒนธรรมมอญที่บางกระดี่นี้ ...สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา เน้นเกี่ยวกับเรื่องวิถีความเป็นอยู่ ประเพณี วัฒนธรรมเพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาถึงเอกลักษณ์ของชนชาติเหล่านี้ และเพื่อเป็นการสืบสานอนุรักษ์มรดกของชาติให้คงอยู่สืบต่อไป 

เอาล่ะค่ะ วันนี้พอแค่นี้ก่อนน๊าา ไว้เจอกันใหม่คราวหน้าเน้อ อย่าลืมดูแลรักษาสุขภาพกันด้วยนะคะ  เป็นห่วงจากใจเลยค่ะ บ๊ายบาย